วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

★* * อยากผู้คอตายใต้ต้นบักเขือขื่น * *★


ฟังเพลง...ดาวมีไว้เบิ่ง...แล้วนึกขำ
มีอยู่ตอนนึง

ที่เค้าร้องว่า อยากผูกคอตาย
ใต้ต้นบักเขือขื่น

แล้วเจ้ามะเขือขื่น มานคือลูกอะไร มานทำให้เรา

เก็บเอาไปคิดและ แปลกใจ อยู่นาน จนเป็นปัญหา

ให้ต้องถามเพื่อน ร่วมงาน ใครรู้จัก มะเขื่อขื่นมั้งไหม

เพื่อนพากัน ขำ เออ พี่น้องนิโง่จริงๆ มะเขือขื่นก็ไม่รู้จัก

แล้วมานลูกอะไรหละ เพื่อนบางคนก็ว่ามะแว้ง บางคนก็บอกมะเขือแจ้

หรือไม่ก็มะเขือเหลือง แล้วมานจะผูกคอตายได้อย่างไรใต้ต้นมะเขือขื่น

ขนาดมะเขือทำมาดอดา มานยังไม่ตายเลย
ไปผูกใต้ตันมะเขือขื่นจะตายไหมเนี่ย

แล้ว สรุป มานลูกอะไรหละ
เป็นคำถามที่หาคำตอบที่แน่นอนไม่ได้เลยนิ

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ6 มีนาคม 2553 เวลา 07:19

    มะเขือขื่น : หนึ่งในมะเขือป่าพื้นบ้าน
    ในคอลัมน์ “ต้นไม้ใบหญ้า” หลายตอนที่ผ่านมาได้นำเสนอมะเขือป่าชนิดต่างๆ ที่ใช้เป็นผักของคนไทย เริ่มจากมะเขือพวง มะแว้ง และมะอึก ตอนนี้เป็นมะเขือขื่น ซึ่งนับเป็นหนึ่งในกลุ่มมะเขือป่าเช่นเดียวกัน

    มะเขือขื่นมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Solanum xanthocarpum Schrad. & Wendl. อยู่ในวงศ์ Solanaceac เช่นเดียวกับมะเขือและพริกชนิดต่างๆนั่นเอง
    มะเขือขื่นเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่มและความสูงประมาณ ๑ เมตร ลักษณะใกล้เคียงกับมะเขือเปราะหรือมะเขือยาวมากกว่ามะเขือป่าชนิดอื่นๆ ลักษณะที่ยังบอกถึงความเป็นมะเขือป่าก็คือ หนามแหลมคมที่มีอยู่มากตามลำต้น กิ่งก้าน ใต้ใบและก้านช่อผล เป็นต้น กลีบดอกสีม่วง เกสรสีเหลือง ผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลางราว ๒ เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวนวล มีเส้นสีเขียวเข้มเป็นลายทั่วผล ผลแก่มีสีเหลือง เนื้อในผลด้านนอก(ติดผิว)มีสีเหลือง เนื้อด้านใน(ติดเมล็ด)มีสีเขียว เมล็ดมีขนาดเล็กสีน้ำตาล แบน จำนวนมาก

    สิ่งบ่งชี้ถึงความเป็นมะเขือป่าอีกประการหนึ่งก็คือ มะเขือขื่นสามารถขึ้นเองอยู่ตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี ดังจะพบขึ้นอยู่ตามป่าที่รกร้างว่างเปล่า ข้างถนนในชนบท ฯลฯ มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและโรคแมลงเป็นพิเศษ รวมทั้งสามารถแพร่พันธุ์ได้โดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์
    สันนิษฐานว่าถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของมะเขือขื่นอยู่บริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชีย ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ผู้เขียนเคยพบมะเขือขื่นอยู่ตามธรรมชาติข้างถนนในประเทศอินเดียเช่นเดียวกับในประเทศไทย และมีรายงานว่าประเทศต่างๆรอบด้านของไทยต่างก็มีมะเขือชื่นอยู่ในธรรมชาติเช่นเดียวกัน
    ชื่อมะเขือขื่นคงได้มาจากลักษณะพิเศษซึ่งต่างจากมะเขือชนิดอื่น คือความขื่นของเนื้อในผลส่วนที่มีสีเขียวนั่นเอง รสขื่นนั้นมีลักษณะเฉพาะตัวที่อธิบายได้ยาก ต้องลองชิมดูจึงจะรู้ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี ๒๕๓๕ อธิบายว่า “ขื่น ว.รสฝาดเฝื่อน ชวนให้คลื่นไส้ ไม่ชวนกิน” อ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจเท่าลองชิมดูจริงๆ
    มะเขือขื่นมีชื่อเรียกต่างๆกันเช่น มะเขือขื่น (ภาคกลาง) มะเขือแจ้ (ภาคเหนือ) มะเขือคางกบ (เชียงใหม่) เขือหิน (ภาคใต้) เป็นต้น

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ21 พฤษภาคม 2555 เวลา 12:53

    เป็นการแสดงความน้อยเนื้อต่ำใจ ความผิกหวัง ชนิดที่ว่าถึงตายไปก็ทำอะไรไม่ได้ ลองนึกภาพ คนเอาเชือกผูกคอแล้วแขวนกับต้นมะเขือตัวนอนราบกับพื้นดิน นอนร้องไห้สะอื้น

    ตอบลบ